การแพร่กระจายเชื้อ และวิธีการป้องกันตนเอง

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (hiv) ซึ่งประสบผลสำเร็จในการรักษา จะมีระดับเชื้อไวรัสในเลือดที่ต่ำมากจนไม่สามารถตรวจพบได้ จึงทำให้ไม่สามารถแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี (hiv) ไปสู่ผู้อื่นได้ นอกจากนี้ เชื้อเอชไอวี (hiv) ยังไม่สามารถแพร่กระจายได้โดยการสัมผัสระหว่างบุคคล หรือโดยการกอด การจูบ หรือการใช้ภาชนะ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในบ้านใด ๆ ร่วมกัน

scheduleOppdatert: 23.07.2021

createForfatter: Sekretariatet

labelEmner:

สาเหตุของการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี (hiv) ส่วนใหญ่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันกับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี (hiv) และผู้ที่มีเชื้อดังกล่าวไม่ได้เข้ารับการรักษา หรืออาจเกิดจากการกระจายผ่านตัวกลางบางอย่างเช่น ทางสายเลือดจากมารดาสู่บุตรระหว่างการตั้งครรถ์ จากการคลอด หรือจากการให้นมบุตร

วิธีการป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อเอชไอวี ทำได้หลายวิธี:

การรักษาที่ประสบผลสำเร็จ ผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี (hiv) ที่ประสบผลสำเร็จในการรักษาจะไม่มีความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี (hiv) ไปสู่ผู้อื่น นั่นหมายความว่าผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี (hiv) ได้ปฏิบัติตามแผนการรักษาอย่างเคร่งครัด โดยการทานยาตรงตามกำหนดและพยายามรักษาระดับเชื้อไว้รัสให้อยู่ในปริมาณต่ำจนไม่สามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ ไม่ว่าจะโดยการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันหรือจากการตั้งครรภ์และคลอดบุตร

ถุงยางอนามัย ควรสวมใส่ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (hiv) และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ทั้งนี้ท่านสามารถติดต่อขอรับถุงยางอนามัยได้ฟรี โดยสั่งผ่านหน้าเวปไซด์ www.gratiskondomer.no

ยาเพร็พ (PrEP – Preeksponeringsprofylakse) (ยาต้านเชื้อไวรัสก่อนการสัมผัสเชื้อ) เป็นยาที่ใช้กับผู้ที่ไม่มีเชื้อเอชไอวี (hiv) แต่มีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับเชื้อเอชไอวี (hiv) ยาจะช่วยปรับระดับของเชื้อเอชไอวี (hiv) ให้มีค่าเป็นลบ เพื่อยับยั้งไม่ให้เกิดการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสในร่างกาย ท่านสามารถขอรับยาเพร็พ (PrEP) ได้โดยการติดต่อแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (แพทย์ประจำตัว) (fastlege) เพื่อให้ทำการส่งต่อเรื่องของท่านไปยังคลีนิคโอลาเฟีย (Olafiaklinikken) หรือแผนกรักษาโรคติดเชื้อ (infeksjonsmedisinske avdelinger) ยังโรงพยาบาลที่ท่านใช้บริการอยู่

หากท่านเป็นผู้หนึ่งซึ่งตกอยู่ในสถานการณ์ที่เพิ่งผ่านความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี (hiv) ยาเป๊ป (PEP – Posteksponeringsprofylakse) (ยาต้านเชื้อไวรัสหลังการสัมผัสเชื้อ/ยาต้านไวรัสกรณีฉุกเฉิน) จะสามารถช่วยชะลอและยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเอชไอวี (hiv) เข้าสู่เซลล์ในร่างกายเพื่อทำการขยายพันธุ์ ทั้งนี้ควรทาน ยาเป๊ป (PEP) โดยเร็วที่สุดหรือภายใน ๔๘ ชั่วโมงหลังการสัมผัสเชื้อหรือพบว่าท่านอาจมีโอกาสติดเชื้อเอชไอวี (hiv) ยาเป๊ป (PEP) จะต้องทานอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน ๒๘ วัน ท่านสามารถขอรับจากยาเป๊ป (PEP) ได้จากหน่วยบริการแพทย์ฉุกเฉิน (akuttmottak) ทุกแห่ง รวมถึง ศูนย์บริการแพทย์ฉุกเฉินมหานคร (storbylegevakter) ในประเทศนอร์เวย์ โดยไม่ต้องปรึกษาแผนกรักษาโรคติดเชื้อ (infeksjonsmedisinske avdelinger)

Les også

schedule13.01.2023

→ คุณคือผู้ที่เพิ่งย้ายมาอยู่ใหม่ในนอร์เวย์และต้องการยารักษาเอชไอวีหรือไม่?

ทุกคนที่อาศัยอยู่ในนอร์เวย์และติดเชื้อเอชไอวีมีสิทธิที่จะรักษาเอชไอวีได้ฟรี รับการรักษาฟรีได้จากแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านที่มีแผนกโรคติดเชื้อ

schedule06.01.2022

→ วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-19) เป็นวัคซีนที่ปลอดภัย

โครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (Joint United Nations Programme on HIV/AIDS) หรือ UNAIDS ชี้แจงว่าวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-19) เป็นวัคซีนที่ปลอดภัยต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HiV) ซึ่งคำชี้แจงดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากแผนกโรคติดเชื้อในประเทศนอร์เวย์ และมีความปรารถนาที่จะเชิญชวนผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HiV) ทุกท่านให้เข้ารับการฉีดวัคซีน